ระบบความปลอดภัย

ระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู
เป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว
(Straddle Monorail)
มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง
มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเขตมีนบุรีและจังหวัดนนทบุรี
1
1
ด้านความปลอดภัยในการเดินรถ
ในการเดินรถปกติ จะใช้ระบบควบคุมรถอัตโนมัติ (Automatic Train Operations Mode: ATO) รูปแบบการเดินรถไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ไร้คนขับ โดยจำกัดความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง
1
ด้านความปลอดภัยในขบวนรถ
ห้องโดยสารของขบวนรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู ได้รับการออกแบบไม่ให้มีส่วนแหลมคม เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้โดยสาร ใช้วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดควันพิษ และยากต่อการลุกลามเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินในขบวนรถ เช่น เพลิงไหม้ ผู้โดยสารเจ็บป่วยกะทันหัน หรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ ผู้โดยสารสามารถแจ้งเหตุแก่เจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้าโดยกดปุ่มกระดิ่งสีชมพู (Passengers Communication Unit) ที่ติดตั้งไว้บริเวณประตูรถไฟฟ้า
บุคลากรด้านชีวอนามัย และความปลอดภัย (อาชีวอนามัย)
แต่ละตู้โดยสารประกอบด้วยชุดโบกี้จำนวน 2 ชุด โดยแต่ละชุดโบกี้มีล้อรับน้ำหนัก 2 ล้อ เพลาเดี่ยว ล้อประคอง 6 ล้อ ทำหน้าที่คร่อม และประคองให้ตู้โดยสารเคลื่อนที่ไปตามคานทางวิ่งตลอดสายทาง ระบบขับเคลื่อนประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าแบบขั้วแม่เหล็กถาวรต่อเข้ากับชุดเฟืองเกียร์ที่ติดตั้งบนโครงสร้างโบกี้เพื่อขับเคลื่อนล้อรับน้ำหนักให้วิ่งไปตามคานทางวิ่ง ซึ่งด้วยการออกแบบชุดโบกี้ดังกล่าว ทำให้ INNOVIA Monorail 300 เป็นรถโมโนเรลที่มีความสูงของพื้นรถต่ำ ดังแสดงละเอียดลักษณะตามรูปภาพ
1
1 1
ด้านบุคลากร
หัวหน้างานควบคุมความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Safety Risk Control Supervisor)
รับผิดชอบในการดูแลควบคุมข้อมูล ความเสี่ยงในระบบรวมถึงปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันตามกิจกรรมที่ทำให้เป็นไปตามแผนงานกำหนด ให้คำแนะนำเรื่องการควบคุมความเสี่ยง พัฒนาเนื้อหาวิชาการด้านความปลอดภัยและความรู้ด้านความปลอดภัยของระบบปฏิบัติการ เพื่อให้ความรู้ ฝึกอบรมให้กับพนักงานและผู้รับเหมา และรักษาระบบมาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้อย่างหมาะสม
บุคลากรด้านชีวอนามัย และความปลอดภัย (อาชีวอนามัย)
สำหรับการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยนั้นมีบุคลากร ความปลอดภัยทุกระดับ โดยมุ่งเน้นการกำจัด ควบคุมความเสี่ยง สนับสนุนส่งเสริม การจัดสภาพการทำงานให้ปลอดภัย และสุขอนามัยที่ดีในการทำงาน รวมถึงการให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า บุคลากร ผู้รับจ้าง ผู้รับเหมา และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่อง
1
วิทยากรความปลอดภัย
การฝึกอบรมบุคลากรภายใต้การกำกับดูแลของระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสดำเนินการโดย BTS Safety Academy ที่มุ่งเน้นพัฒนาบุคลากร ผู้รับจ้าง ผู้รับเหมา และผู้รับเหมาช่วงที่ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของบริษัทฯ ให้ปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย ปราศจากการบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือสูญเสียชีวิต รวมถึงปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัย โดยทีมวิทยากรความปลอดภัย ซึ่งเป็นบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย และการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย การเรียนการสอนมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำไปใช้งานได้จริงตามตำแหน่งงาน และต่อยอดด้านความปลอดภัย รวมถึงสร้างศักยภาพในการเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยให้พนักงานทุกคน
ด้านการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน
การตอบสนองเหตุฉุกเฉินได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างพนักงานบีทีเอสกับหน่วยงานภายนอก เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่พยาบาล เป็นต้น ที่จะสาธิตขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในบริษัทฯ กรณีเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความชำนาญในขั้นตอนปฏิบัติ รวมถึงการประสานงานของภาครัฐและเอกชนเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ถือเป็นการทดสอบระบบ อุปกรณ์ และความพร้อมของพนักงาน ทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติของแต่ละหน้าที่ สร้างความคุ้นเคยในการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกใน

บริษัทฯ จัดให้พนักงานร่วมฝึกซ้อมการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินกับหน่วยงานฉุกเฉินจากทางราชการและท้องถิ่น ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ศูนย์นเรนทร ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (กองบัญชาการตำรวจนครบาล กองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ (อรินทราช 26) สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค1 สถานีตำรวจภูธรท้องที่ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ กลุ่มงานเก็บกู้วัตถุระเบิดและกองกำกับการสุนัขตำรวจ) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย สำนักงานเทศบาลตำบลบางปู ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลนครสมุทรปราการ โรงพยาบาลสมุทรปราการ (ศูนย์นเรนทรพึ่งได้สมุทรปราการ)