ระบบอาณัติสัญญาณ
ภาพรวมโครงการ
ระบบโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกรุงเทพฝั่งทิศตะวันออก จากเขตมีนบุรี
ไปยังจังหวัดนนทบุรี(ทิศตะวันตก)
รวมระยะทางประมาณ 34.5 กม.
ซึ่งประกอบไปด้วยสถานียกระดับ 30 สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุงและโรงจอด 1 แห่ง และอาคารจอดแล้วจร 1 อาคาร โดยศูนย์ซ่อมบำรุงและโรงจอดจะมีช่องทางสำหรับซ่อมบำรุง 7 ช่องทาง ช่องทางล้างรถอัตโนมัติ 1 ช่องทาง และทางวิ่งทดสอบ 1 ทางวิ่ง มีห้องศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้า (CCR) 1 ห้องในอาคารศูนย์บริหารและควบคุมการเดินรถไฟฟ้า (OCC) และห้องศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้าสำรอง (BCCR) หนึ่งห้องในอาคารศูนย์ซ่อมบำรุง
ซึ่งประกอบไปด้วยสถานียกระดับ 30 สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุงและโรงจอด 1 แห่ง และอาคารจอดแล้วจร 1 อาคาร โดยศูนย์ซ่อมบำรุงและโรงจอดจะมีช่องทางสำหรับซ่อมบำรุง 7 ช่องทาง ช่องทางล้างรถอัตโนมัติ 1 ช่องทาง และทางวิ่งทดสอบ 1 ทางวิ่ง มีห้องศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้า (CCR) 1 ห้องในอาคารศูนย์บริหารและควบคุมการเดินรถไฟฟ้า (OCC) และห้องศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้าสำรอง (BCCR) หนึ่งห้องในอาคารศูนย์ซ่อมบำรุง
ลักษณะโครงการ
- ระยะทางเส้นทางหลักประมาณ 34.5 กม. (ในระยะแรก)
- สถานียกระดับ 30 สถานี (ในระยะแรก)
- จำนวนรถไฟฟ้า 42 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้โดยสาร (ในระยะแรก)
- ห้องศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้าหลัก 1 ห้อง
- ห้องศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้าสำรอง 1 ห้อง
- ระบบควบคุมเฉพาะพื้นที่ 4 ชุด (3 ชุดสำหรับพื้นที่เส้นทางหลักและ 1 ชุดสำหรับพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงและโรงจอด)
- ศูนย์ซ่อมบำรุงและโรงจอด 1 อาคาร
- ทางวิ่งทดสอบ 1 ทางวิ่ง
- ห้องฝึกอบรม 1 ห้อง
คุณลักษณะการให้บริการ
- ในระยะแรก ระบบจะให้บริการด้วยขบวนรถไฟฟ้า 4 ตู้โดยสาร โดยจะสามารถเพิ่มตู้โดยสารขึ้นเป็น 6 ตู้ และ 7 ตู้ เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
- ความยาวของสถานีและชานชาลาสามารถรองรับขบวนรถได้ยาว 7 ตู้โดยสาร
- ความเร็วในการให้บริการสูงสุดคือ 80 กม./ชม.
- ระยะห่างระหว่างขบวนที่ปลอดภัยสำหรับการให้บริการคือ 120 วินาที (และสั้นที่สุดตามการออกแบบที่ 90 วินาที)
- ความเร็วเฉลี่ยของการเดินทาง 35 กม./ชม.
- โหมดการให้บริการปกติคือการขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติโดยไร้พนักงานควบคุมรถไฟฟ้า (UTO)
- ในกรณีที่จำเป็นต้องขับเคลื่อนรถไฟด้วยพนักงานควบคุมรถไฟฟ้า สามารถใช้โหมด MATP ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยระบบป้องกันการชนกันอัตโนมัติ
- โหมดแมนนวล (NRM) มีไว้เพื่อใช้ในการกู้คืนการให้บริการเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ
คุณสมบัติทางเทคนิค
- โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพูใช้ระบบอาณัติสัญญาน CityfloTM 650 ของ บริษัท Alstom รุ่น CityfloTM 650 ซึ่งเป็นระบบอาณัติสัญญานที่ใช้เทคโนโลยี Moving Block และการรับส่งข้อมูลควบคุมการวิ่งรถไฟฟ้าผ่านการสื่อสารแบบไร้สาย Communication Based Train Control (CBTC) ซึ่งแตกต่างจากและมีประสิทธิภาพกว่าระบบ Fixed Block แบบดั้งเดิม โดยที่ตำแหน่งของรถไฟฟ้าจะเคลื่อนที่ตามการเคลื่อนที่จริงของรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลการควบคุมรถไฟฟ้าจะถูกส่งไป-กลับระหว่างคอมพิวเตอร์บนรถไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ข้างทางผ่านระบบวิทยุไร้สาย โดยที่การแสดงตำแหน่งของขบวนรถไฟฟ้านี้จะถูกคำนวนโดยคอมพิวเตอร์บนรถไฟฟ้าและส่งกลับไปยังระบบควบคุมจากศูนย์กลาง โดยจะคำนวนจากประสิทธภาพการเบรกของรถไฟฟ้าในกรณีที่เลวร้ายที่สุด
- ระบบย่อยของระบบอาณัติสัญญานของโครงการโมโนเรลสายสีชมพูประกอบด้วยระบบ Automatic Train Supervision (ATS), Automatic Train Protection (ATP), Automatic Train Operation (ATO), Object Controller (OCS) และ Data Communication (DCS).
ระบบอาณัติสัญญาณรุ่น CityfloTM 650 - คุณสมบัติและข้อดี
- ด้วยระบบควบคุมรถไฟฟ้าแบบ CBTC Moving Block จึงสามารถรับประกันได้ว่าจะช่วยเพิ่มความปลอดภัย ร่นระยะห่างระหว่างขบวน และเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ
- รองรับระดับการทำงานอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งหมายถึงระดับการทำงานอัตโนมัติระดับ 4 (GoA 4) หรือ (Unattended Train Operation) ซึ่งเป็นโหมดการทำงานของรถไฟฟ้าอัตโนมัติระดับสูงสุด ตามมาตรฐาน IEC 62290-1
- ใช้การเทคโนโลยีควบคุมและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขั้นสูง เครือข่ายการสื่อสารข้อมูลที่มีระบบสำรอง และเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน
- การรับส่งข้อมูลควบคุมการวิ่งรถไฟฟ้าผ่านการสื่อสารแบบไร้สาย เป็นไปตามมาตรฐาน IEEE 802.11, โดยใช้ความถี่ 5.8 GHz รวมทั้งเสาอากาศแบบ LoS ทำให้มั่นใจได้ว่าการรับส่งข้อมูลระหว่างรถไฟฟ้าอุปกรณ์สื่อสารข้างทางมีความต่อเนื่อง เสถียร และเชื่อถือได้ และยังช่วยป้องกันข้อผิดพลาดและการรบกวนทางสัญญานวิทยุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ระบบย่อยต่างๆ ในระบบอาณัติสัญญานได้รับการออกแบบให้มีความปลอดภัยที่ระดับสูงสุด โดยเป็นไปตามมาตรฐานข้อกำหนดระดับความปลอดภัย (Safety Integrity Level - SIL) โดยเฉพาะระบบ ATP และระบบ Interlocking ซึ่งได้รับมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 4 (SIL4)
- ระบบย่อยที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยเป็นหลักเช่น ระบบ ATP และ Interlocking ใช้สถาปัตยกรรมแบบ 2x2-out-of-2 ซึ่งเป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ 2 ชุดในการประมวลผลพร้อมๆ กัน และมีการเปรียบเทียบผลลัพท์ให้ตรงกัน ในขณะที่ระบบย่อย ATS และ ATO ใช้โครงสร้างแบบ hot-standby โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 ชุดเป็นหลักในการประมาลผล และเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 ชุดอยู่ในสถานะเตรียมพร้อมเข้าทำงานแทนในกรณีที่เครื่องหลักเกิดข้อขัดข้อง เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของระบบ
- สถานีต่างๆ ได้ถูกจัดกลุ่มให้อยู่ภายใต้เขตการควบคุม (Region) ของแต่ละเขต ช่วยลดระยะห่างระหว่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ และอุปกรณ์ข้างทาง ลดเวลาการซ่อมแซม ตลอดจนต้นทุนของการบำรุงรักษาอุปกรณ์
- มีรูปแบบการขับเคลื่อนรถไฟฟ้าที่หลากหลาย สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบขับเคลื่อนได้ตามความต้องการ ตั้งแต่การขับเคลื่อนอัตโนมัติแบบไร้คนขับ ไปจนถึงแบบใช้คนขับ
- ควบคุมอัตราการเร่งและการลดความเร็วของรถไฟฟ้าให้สอดคล้องกับรูปแบบการเดินรถที่กำหนดไว้ ช่วยประหยัดพลังงานและเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้โดยสาร
- ควบคุมการจอดของรถไฟฟ้าที่สถานีให้ตรงกับช่องประตูกั้นชานชาลาได้อย่างแม่นยำ
- ระบบย่อยการรับส่งข้อมูล Data Transmission System พร้อมระบบสำรองแบบ Hot-Standby และฟังก์ชันการกู้คืนอัตโนมัติที่ช่วยป้องกันความผลกระทบต่อระบบจากความผิดพลาด
โครงสร้างของระบบอาณัตสัญญาน
โครงสร้างของระบบโดยรวม
เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของระบบที่มีความหนาแน่นสูงและต้องสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องสำหรับโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพู
ระบบอาณัติสัญญาณที่นำมาใช้ในโครงการนี้จึงเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งมีความสามารถในการพร้อมใช้งาน
(Availability) ความน่าเชื่อถือ (Reliability) ความปลอดภัยและการบำรุงรักษาในระดับสูงอีกด้วย
โดยเขตการควบคุมระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพู แบ่งออกเป็น 3 เขต ได้แก่ 2
เขตสำหรับพื้นที่บนเส้นทางหลัก และ 1 เขตสำหรับพื้นที่ใน Depot
โดยที่ทางโครงการได้ติดตั้งระบบควบคุมเฉพาะพื้นที่ในแต่ละสถานีเขตการควบคุมทั้ง 4 เขต
ซึ่งสามารถทำหน้าที่เป็นระบบควบคุมสำรองระดับที่ 2 ในกรณีที่ ทั้งห้องศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้าหลัก
และห้องศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้าสำรองไม่สามารถใช้งานได้
สถาปัตยกรรมของระบบ